การตรวจสอบข้อมูลสมาชิก

การตรวจสอบข้อมูลสมาชิก สหกรณ์ออมทรัพย์ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำกัด

1. เข้าสู่เว็บ สหกรณ์ฯ www.coopafdc.com  แล้วคลิกที่เมนู “ข้อมูลสมาชิก” หรือหากใช้โทรศัพท์มือถือให้ คลิกที่นี่

 2. ช่อง ชื่อผู้ใช้ ให้ใส่หมายเลขสมาชิก ให้ครบ 6 หลัก เช่น 2234 ให้ใส่เป็น 002234

      ช่อง รหัสผ่าน  ให้ใส่หมายเลข ปชช.13 หลักของตัวสมาชิกเอง แล้วคลิก เข้าสู่ระบบ ตามภาพข้างล่าง

 

3. เว็บไซต์จะแสดง ข้อมูลสมาชิก คล้ายกับภาพข้างล่าง

หากสมาชิกต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน สามารถทำได้โดยการทำตามขั้นตอน

33 thoughts on “การตรวจสอบข้อมูลสมาชิก”

  1. เห็นว่าอัพเกรดเมื่อ 6มี.ค.60 แต่ข้อมูลของพี่ยังเก่า ไม่อัพเลยค่ะ มี 2ข้อค่ะ
    1. ยศ น.อ. ค่ะ
    2. เงินเดือนผิดค่ะ
    รบกวนช่วยแก้ข้อมูลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    1. คุณ 001841 เงินเดือนและยศไม่ถูกต้อง กรุณาส่งข้อมุลที่ถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ จะได้แก้ไขให้ถูกต้องค่ะ หรือส่งข้อความส่วนตัวทาง facebook สหกรณ์ฯ ได้ที่ http://m.me/coop.afdc ขอบคุณค่ะ

  2. อยากทราบว่าการกู้สามัญ ขึ้นอยู้กับประกันใช่มัย ไปทำเรื่องกู้วันที่ 31 ส.ค.61 ปัจจุบัน 11 ก.ย.61 ยังไม่ได้รับเงิน สาเหตุ เพราะอุบัติเหตุเครมประกัน คุณรู้มัยว่าเพราะอะไรเราถึงมากู้เงิน เพราะจะใช้เงิน อุบัติเหตุแปลว่าอะไร คงเข้าใจนะ ขออนุญาตินะถ้าช้าขนาดนี้ จำเป็นจะต้อง เรียน ให้ ผบ.นทพ. ท่านทราบถึงปัญหา ข้อขัดข้อง ระหว่าง สหกรณ์ และประกันชีวิต ค้ำประกันก็มี ประกันชีวิตกฺ็ต้องทำ ไม่เข้าใจช่วยตอบที

    1. ตามที่สมาชิกสอบถามเรื่องการกู้เงินสามัญที่ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อนั้น
      สหกรณ์ฯ ขอชี้แจงดังนี้

      1. การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ฯ โดยการรับฝากเงินและการถือหุ้นของสมาชิก
      ซึ่งสหกรณ์ฯ ให้ผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์
      และได้นำเงินฝากและเงินค่าหุ้นนี้ไปช่วยเหลือสมาชิกที่มีความเดือดร้อนในรูปสินเชื่อ
      คือเงินกู้สามัญ และเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินโดยคิดดอกเบี้ยอัตราที่ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์เช่นกัน
      ดังนั้นคณะกรรมการเงินกู้ฯ ต้องพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้คืนของผู้กู้ด้วย
      เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ฯ และสมาชิกที่นำเงินมาฝากและถือหุ้นกับสหกรณ์ฯ

      2. สมาชิกที่ขอกู้เงินสามัญกับสหกรณ์ฯ ส่วนใหญ่เป็นการกู้โดยใช้บุคคลค้ำประกัน
      หรือกล่าวได้ว่าเป็นการขอกู้เงินที่มีจำนวนสูงกว่าเงินฝากและค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์
      ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สมาชิกไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้
      ภาระหนี้ก็จะตกอยู่กับผู้ค้ำประกันที่สมาชิกผู้กู้ขาดส่ง 2 งวดติดต่อกันตามวงเงินหนี้คงเหลือ

      3. เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของสหกรณ์ฯ และเป็นการบรรเทาภาระของผู้ค้ำประกัน
      รวมทั้งทายาทของสมาชิก สหกรณ์ฯ จึงได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มเพื่อคุ้มครองสินเชื่อ
      โดยสมาชิกผู้กู้ต้องรับภาระค่าเบี้ยประกันเอง ดังนั้นหากสมาชิกผู้กู้เสียชีวิต
      หลังจากส่งเบี้ยประกันแล้ว 1 ปี 2 วัน
      บริษัทประกันชีวิตจะชำระหนี้แทนสมาชิกเต็มจำนวนที่ค้างชำระ
      และหากมีเงินเหลือจ่ายก็จะจ่ายให้แก่ทายาทตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

      4. กรณีของสมาชิกที่สอบถามมา
      เนื่องจากสมาชิกได้ประสบอุบติเหตุก่อนหน้าที่มาขอกู้เงินกับสหกรณ์ฯ
      บริษัทประกันชีวิตฯ จำเป็นต้องตรวจสอบสุขภาพและการรักษาของสมาชิก
      ให้ละเอียดรอบครอบ หากพบว่าสมาชิกยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพ บริษัทประกันชีวิตฯ
      อาจต้องเพิ่มเบี้ยประกันสูงกว่าปกติ หรือสมาชิกอาจต้องลดวงเงินกู้ลง (ลดทุนประกันลง)
      โดยจ่ายเบี้ยประกันเท่าเดิม แต่หากพบว่าสุขภาพของสมาชิกปกติ
      สมาชิกเสียเบี้ยประกันชีวิตในอัตราปกติ
      แต่อย่างไรก็ตามสหกรณ์ฯ ขออภัยในความล่าช้าในครั้งนี้
      และจะติดตามเรื่องกับบริษัทประกันชีวิตฯ ต่อไปค่ะ

Leave a Comment

Scroll to Top